ซื้อที่พักสำหรับวัยเกษียณ โทร : 083-622-5555
ขายที่พักสำหรับวัยเกษียณ
ดำเนินการประสานงาน และจัดทำเอกสารสำหรับซื้ออสังริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติ อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
จัดเตรียมเอกสาร
ดำเนินการจัดเตรียมเอกสารสำหรับการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติ
ทำเลหลากหลาย
เรามีสถานที่ ทำเลทอง สำหรับชาวต่างชาติ ที่ต้องการใช้ชีวิตวัยเกษียณมากมายถูกต้องตามกฏหมาย
ดำเนินการแบบถูกต้องตามกฏหมาย โดยมืออาชีพที่เชี่ยวชาญกว่า 10 ปีทำเล ทะเล
จันทบุรี , ตราด , ชลบุรี , ระยอง
ทำเล ภูเขา
เชียงใหม่ , แม่ฮ่องสอน , เชียงราย , โคราช
ทำเล น้ำตก
โคราช , แม่ฮ่องสอน , ตาก , กาญจนบุรี
หลักการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทย
การเป็นเจ้าของที่ดินตามกฎหมายครอบครองที่ดินหรือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2497 มีดังนี้
ชาวต่างชาติมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดินได้หรือไม่
ตามกฎของกระทรวงมหาดไทย ชาวต่างชาติไม่สามารถที่จะเป็นเจ้าของที่ดินได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินส่วนบุคคล, บริษัทหรือหุ้นส่วน อย่างไรก็ตามกฎหมายที่ร่างขึ้นมานั้นก็ได้มีข้อยกเว้น ตามกฎหมายที่ดินมาตราที่ 97 ได้ระบุไว้ว่า ชาวต่างชาติมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของที่ดิน ถ้าบุคคลนั้น ๆ มีหุ้นส่วนที่เป็นคนไทย หรือบริษัทของไทยที่ได้ลงทะเบียนตามกฎหมาย ชาวต่างชาติต้องมีหุ้นส่วนอยู่มากกว่า 49% หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้หรือไม่
ถึงแม้ว่าชาวต่างชาตจะไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ แต่สามารถที่จะเป็นเจ้าของตึก, บ้าน, คอนโด ฯลฯ ได้ ถ้าชาวต่างชาติต้องการที่จะซื้อที่ดินเพื่อที่จะสร้างบ้านของตนเอง โดยมีทางเลือก 2 ทาง ดังนี้
- จัดตั้งบริษัทซื่งมีผู้ถึอหุ้นที่เป็นคนไทยร่วมอยู่ด้วย
- เช่าในสัญญาระยะยาว ซึ่งมีสิทธิในการต่ออายุได้
การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อมีสิทธิในการซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์
สิ่งแรกที่ชาวต่างชาติต้องทำคือ สร้างบริษัทร่วมหุ้นโดยมีคนไทยร่วมหุ้นเป็นส่วนมาก การสร้างบริษัทนั้นจะต้องจัดทำโดยทนายเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อป้องกันการเสียเปรียบของชาวต่างชาติ ดังนั้นเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นชาวต่างชาติจะมีสิทธิในการซื้อที่ดินผูกขาด โดยผ่านบริษัทที่ได้จัดตั้งขี้น ชื่อเจ้าของที่ดินจะเป็นชื่อของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมานั้นเอง จะไม่สามารถเป็นชื่อบุคคลได้
ทำไมชาวต่างชาติจะต้องจัดตั้งบริษัทเพื่อจะเป็นเจ้าของที่ดิน
การเป็นเจ้าของบ้านหรือที่ดินส่วนบุคคลโดยผ่านบริษัทที่ตั้งขึ้นมา โดยการเป็นผู้ถือหุ้นและมีหุ้นส่วน ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยทนายเป็นวิธีที่ชาวต่างชาตินิยมมาก เพราะกฎหมายมีข้อยกเว้นมากมายเมื่อใช้ชื่อบริษัท ถึงแม้ว่ากฏเกณฑ์ต่าง ๆ จะแตกต่างกันออกไปในประเทศไทย โดยทั่วไปแล้วจุดยืนจะอยู่ที่บริษัทจะต้องมีชาวไทยเป็นผู้ถือหุ้นเป็นส่วนมาก แต่เงินต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นเงินของชาวต่างชาติตามกฏหมาย
รับจดทะเบียนบริษัทมีต่างชาติถือหุ้น
การจดทะเบียนบริษัทแบบมีต่างชาติ ถือหุ้น มี 2 กรณีด้วยกัน
- จดทะเบียนบริษัท โดยมีคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้นไม่เกิน 49% (เป็นบริษัทสัญชาติไทย ประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามกฏหมายกำหนด)
- จดทะเบียนบริษัท โดยมีคนสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ถือหุ้น 100% หรือเกิน 50% (เป็นบริษัทต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว)
กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือในกรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนแต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจในการทำการแทนบริษัทจำกัด ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนสอดคล้องกับเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละรายอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนหรือ
- เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นหรือ
- สำเนาหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
เอกสารประกอบคำขอ
บุคคลธรรมดา
1) แบบ ต. 2
2) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
3) สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
4) คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
5) หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
6) แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
7) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
8) หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
1) แบบ ต. 2
2) สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
3) หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้แต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินกิจการในประเทศไทยแทนนิติบุคคล
4) สำเนาหนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง
5) สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง
6) คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
7) หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
8) แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
9) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
10) หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
1) แบบ ต. 2
2) สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
3) คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
4) หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
5) หนังสือแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว จำนวนหุ้น ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างด้าวถือ
6) แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
7) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
8) หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)